วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รูปแบบการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล
ย้อนกลับ
ถัดไป
6.3 ทิศทางการสื่อสารข้อมูล
แบ่งตามรูปลักษณะได้ 3 แบบ คือ 6.3.1 แบบซิมเพล็กซ์ (Simplex) ข้อมูลส่งได้ในทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่าการส่งทิศทางเดียว (Unidirectional data bus) 6.3.2 แบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์ (Half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้ง 2 สถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้
6.3.3 แบบฟลูดูเพล็กซ์ (Full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน
รูปที่ 6.3 รูปแบบทิศทางการสื่อสารข้อมูลในแต่ละแบบ
การส่งแบบฟูลดูเพล็กซ์และฮาล์ฟดูเพล็กซ์ ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนของสายในการติดต่อ บางครั้งคำว่า ทูไวร์ (Two wire) หรือสองเส้น และโฟร์ไวร์ (Four wire) หรือสี่เส้น ใช้ในการบรรยายถึงลักษณะการสื่อสารข้อมูลซึ่งอาจจะทำให้เข้าใจการส่งแบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์ สายโทรศัพท์ทั่วไปเป็นแบบสองเส้น ส่วนในสายที่เป็นแบบเช่า (Lease line) นั้นส่วนมากจะเป็นสี่เส้น
6.4 การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมและแบบขนานสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลโดยผ่านสายสื่อสารทำได้ 2 วิธี คือ การสื่อสารแบบอนุกรม หรือแบบเรียงลำดับ(Serial) และการสื่อสารข้อมูลแบบขนาน(Parallel)
6.4.1 การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม ในการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ จะเห็นว่าการส่งข้อมูลแบบนี้ช้ากว่าแบบขนาน ตัวกลางการสื่อสารแบบอนุกรมต้องการเพียงช่องเดียวหรือสายเพียงคู่เดียว ค่าใช้จ่ายในสื่อกลางถูกกว่าแบบขนานสำหรับการส่งระยะทางไกล ๆ โดยเฉพาะเมื่อเรามีระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ไว้ใช้งานอยู่แล้วย่อมจะเป็นการประหยัดกว่าที่จะทำการติดต่อสื่อสารทีละ 8 ช่อง เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลแบบขนานอย่างแน่นอน การส่งข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจากจุดส่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นอนุกรมเสียก่อนแล้วค่อยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ ณ ที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนานที่ลงตัวพอดี นั่นคือ บิต 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1 พอดี การที่จะทำให้ การแปลงสัญญารจากอนุกรมทีละบิตให้ลงตัวพอดีนั้นจำเป็นจะต้องมีกลไกที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการรับ
6.4.2 การสื่อสารข้อมูลแบบขนาน การส่งข้อมูลแบบขนาน ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละไบต์ คือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่าง 2 เครื่องจะต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง โดยมากจะเป็นสายขนานให้กระแสไฟฟ้าวิ่งมากกว่าจะเป็นตัวกลางชนิดอื่น เนื่องจากมีสัญญาณ สูญหายไปกับความต้านทานของสาย ระยะทางระหว่าง 2 เครื่อง ไม่ควรจะเกิน 100 ฟุต ปัญหาที่ เกิดขึ้นหากระยะทางของสายมากกว่านี้ก็คือระดับของกราวนด์ในทางไฟฟ้าที่จุดรับผิดไปจากจุดส่ง ทำให้เกิดการผิดพลาดในการรับสัญญาณลอจิกทางฝ่ายรับ นอกจากสายที่เป็นทางเดินของข้อมูลแล้วอาจจะมีทางเดินของสัญญาณควบคุมอื่น ๆ อีกเป็นต้นว่า บิตที่บอกแพริตี้ของสัญญาณ เพื่อเป็นการตรวจสอบความผิดพลาดของการรับสัญญาณที่ปลายทาง หรือสายที่ควบคุมการโต้ตอบ(Hand-shake) จะเห็นว่าการส่งแบบขนานส่วนมากจะทำในระยะใกล้ๆ เนื่องจากจะต้องมีช่องทางเดินของสัญญาณมากกว่า 8 สาย และอุปกรณ์ที่ติดต่อแบบขนานกับคอมพิวเตอร์ก็เห็นจะได้แก่ เครื่องพิมพ์
รูปที่ 6.4 การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม รูปที่ 6.5 การสื่อสารข้อมูลแบบขนาน
6.5 ระบบเครือข่ายเบสแบนด์และบรอดแบนด์
6.5.1 ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ ระบบ LAN ที่ใช้เทคนิคเบสแบนด์ จะใช้สัญญาณที่รับส่งเป็นสัญญาณดิจิตอล ล้วนแต่ในความหมายของเบสแบนด์นั้นคือ การส่งสัญญาณข้อมูลเดิมแท้จริงโดยไม่มีการมอดูเลต สัญญาณที่ไม่มีการมอดูเลตก็คือสัญญาณข้อมูลดิจิตอลที่ส่งนั้นเอง รูปแบบของสัญญาณดิจิตอล คือการกำหนดให้แรงดันที่ป้อนออกม่เป็นสัญญาณแรงดันสองระดับในรูปแบบพัลส์และเมื่อมีสัญญาณที่ส่งเป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความถี่กว้างมาก ดังนั้นจึงไม่สามารถนำเอาหลักการของการแบ่งช่วงความถี่มาใช้ได้ (FDM) การส่งสัญญาณจึงเป็นไปในลักษณะสองทิศทางคือ ตลอดเส้นทางจะมีแรงดันเดียวกันตามที่ส่ง สืบเนื่องจากสัญญาณมีแถบความถี่กว้างมาก และเป็นสัญญาณพัลส์ดังนั้นการส่งสัญญาณๆไปในสายจึงมีปัญหามาก การส่งสัญญาณจึงยากที่จะกระจายไปตามกิ่งก้านของโทโปโลยีแบบทรี ทั้งนี้เพราะจะต้องผ่านอุปกรณ์สปลิตเตอร์หรือรีพีตเตอร์บางอย่าง ดังนั้นเบสแบนด์จึงเหมาะกับแบบบัส
6.5.2 ระบบเครือข่ายแบบบรอดแบนด์ บอร์ดแบนด์มีความหมายถึงการสื่อสารในช่วงความถี่ที่ใช้แถบกว้างเกินกว่า 4 กิโลเฮิร์ตซ์ แต่สำหรับระบบบอร์ดแบนด์ที่ใช้กับ LAN เราจะใช้กับการรับส่งข้อมูลที่ใช้หลักการของการมอดูเลต แล้วใช้การมัลติเพล็กซ์หลายความถี่เข้าด้วยกัน ในหลักการที่เรียกว่า FDM (Frequency devision multi-plex) ระบบที่ใช้การสื่อสารข้อมูลอะนาล็อก 1 ช่องจึงหมายถึงการใช้บอร์ดแบนด์หนึ่งช่อง ในสายสัญญาณแต่ละเส้นนั้นจะส่งสัญญาณเข้าไปได้ในช่วงความถี่ออกเป็นหลายช่องแล้วส่งเข้าไปในระบบในรูแบบมัลติเพล็กซ์ทำให้เราส่งได้หลายช่อง ดังนั้นจึงสามารถใช้ได้ทั้ง โทโปโลยีแบบบัสหรือแบบทรี แต่เนื่องจากเป็นสัญญาณอะนาลอกจึงต้องมีวงจรขยายสัญญาณหรือแอมพลิฟลายเออร์ จึงส่งได้ในทิศทางเดียวการส่งได้อาจส่งได้หลายสิบกิโลเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการขยายสัญญาณและคุณสมบัติของสาย ระบบเครือข่ายแบบบอร์ดแบนด์ จะตรงข้ามกับ เบสแบนด์ นั่นคือ จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณ สามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อมๆ กัน โดยใช้วิธี แบ่งช่องความถื่ออกจากกัน ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารกันได้โดยช่องความถี่ของตนเองผ่านตัวกลางเดียว ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย Cable TV ซึ่งสามารถส่งสัญญาณมาพร้อมกันหลาย ๆ ช่องบนสายการสื่อสารเส้นเดียว และผู้รับก็สามารถเลือกช่องความถี่ที่ต้องการชมได้ เป็นต้น
ย้อนกลับ
ถัดไป
รูปแบบในการส่งข้อมูล (transmission mode) การส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การส่งแบบขนาน และการส่งแบบอนุกรม การส่งแบบขนาน (parallel transmission) คือการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา โดยการส่งจะรวมบิต 0 และ 1 หลาย ๆ บิตเข้าเป็นกลุ่มจำนวน n บิต ผู้ส่งส่งครั้งละ n บิต ผู้รับจะรับครั้งละ n บิตเช่นกัน ซึ่งจะคล้ายกับเวลาที่เราพูดคุยเราจะพูดเป็นคำ ๆ ไม่พูดทีละตัวอักษร กลไกการส่งข้อมูลแบบขนานใช้หลักการง่าย ๆ เมื่อส่งครั้งละ n บิต ต้องใ้ช้สาย n เส้น แต่ละบิตมีสายของตนเอง ในการส่งแต่ละครั้งทุกเส้นต้องใช้สัญญาณนาฬิกาอันเดียวกัน ทำให้สามารถส่งออกไปยังอุปกรณ์อื่นพร้อมกันได้
รูปแสดงการส่งข้อมูลแบบขนาน โดยให้ n=8 โดยทั่วไปแล้วปลายของสายทั้ง 2 ข้างจะถูกต่อด้วยคอนเน็กเตอร์ด้านละ 1 ตัว ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบขนานคือ ความเร็ว เพราะส่งข้อมูลได้ครั้งละ n บิต ดังนั้น ความเร็วจึงเป็น n เท่าของการส่งแบบอนุกรม แต่ข้อเสียที่สำคัญคือ ค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เพราะต้องใช้สายจำนวน n เส้น ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบขนาน เช่น การส่งข้อมูลภายในระบบบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ (printer) เป็นต้น การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission) จะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้ดูเหมือนว่าบิตต่าง ๆ เรียงต่อเนื่องกันไป จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ดังรูป

ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม คือการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียง 1 ช่อง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง แต่ข้อเสียคือ ความเร็วของการส่งที่ต่ำ ตัวอย่างของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม เช่น โมเด็มจะใช้การส่งแบบอนุกรมเนื่องจากในสัญญาณโทรศัพท์มีสายสัญญาณเส้นเดียว และอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน การส่งข้อมูลแบบอนุกรม แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้ 1. การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission) เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน แต่ข้อมูลที่รับต้องถูกแปลตามรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน เนื่องจากไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันทำให้ผู้รับไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อใดจะมีข้อมูลส่งมาให้ ดังนั้นผู้ส่งจึงจำเป็นต้องแจ้งผู้รับให้ทราบว่าจะมีการส่งข้อมูลมาให้โดยการเพิ่มบิตพิเศษเข้ามาอีกหนึ่งบิต เอาไว้ก่อนหน้าบิตข้อมูล เรียกว่า บิตเริ่ม (start bit) โดยทั่วไปมักใช้บิต 0 และเพื่อให้ผู้รับทราบจุดสิ้นสุดของข้อมูลจึงต้องมีการเพิ่มบิตพิเศษอีกหนึ่งบิตเรียกว่าบิตจบ (stop bit) มักใช้บิต 1 นอกจากนี้แล้วการส่งข้อมูลแต่ละกลุ่มต้องมีช่องว่างระหว่างกลุ่ม โดยช่องว่างระหว่างไบต์อาจใช้วิธีปล่อยให้ช่องสัญญาณว่าง หรืออาจใช้กลุ่มของบิตพิเศษที่มีบิตจบก็ได้ รูปต่อไปนี้แสดงการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส ให้บิตเริ่มเป็นบิต 0 บิตจบเป็นบิต 1 และให้ช่องว่างแทนไม่มีการส่งข้อมูล (สายว่าง)
ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส มี 2 ประการ คือ ค่าใช้จ่ายถูกและมีประสิทธิภาพ การส่งข้อมูลแบบนี้จะนำไปใช้ในการสื่อสารที่ต้องการใช้ความเร็วไม่สูงนัก ตัวอย่างเช่น การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องปลายทาง (terminal) ที่โดยธรรมชาติแล้วเป็นการสื่อสารแบบอะซิงโครนัส เพราะผู้ใช้จะพิมพ์ทีละ 1 ตัวอักษรจากเครื่องปลายทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่ต้องใช้ความเร็วสูงในการติดต่อสื่อสาร 2. การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission) เป็นการส่งบิต 0 และ 1 ที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการแบ่งแยก ผู้รับต้องแยกบิตเหล่านี้ออกมาเป็นไบต์ หรือเป็นตัวอักษรเอง
จากภาพแสดงการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส ผู้ส่งทำการส่งบิตติดต่อกันยาว ๆ ถ้าผู้ส่งต้องการแบ่งช่วงกลุ่มข้อมูลก็ส่งกลุ่มบิต 0 หรือ 1 เพื่อแสดงสถานะว่าง เมื่อแต่บิตมาถึงผู้รับ ผู้ัรับจะนับจำนวนบิตแล้วจับกลุ่มของบิตให้เป็นไบต์ที่มี 8 บิต การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัสมาก และทำให้มีการใช้ความสามารถของสายสื่อสารได้เกือบทั้งหมด ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส คือความเร็วในการส่งข้อมูล ทั้งนี้เพราะไม่มีบิตพิเศษหรือช่องว่างที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้เมื่อถึงผู้รับ จึงทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสเร็วกว่าแบบอะซิงโครนัส ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำไปใช้งานที่ต้องการความเร็วสูง เช่น การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์



คณะผู้จัดทำ

สัญญาณ

ประเภทของสัญญาณ : อนาลอกและดิจิตอล
เราคงเคยได้ยินคำว่า “อนาลอกและดิจิตอล” กันมาบ้างแล้ว ข้อมูลต่างๆที่เดินทางผ่านช่องสัญญาณในระบบโทรคมนาคมมีอยู่สองแบบ คือ สัญญาณอนาลอกกับสัญญาณดิจิตอล ลักษณะของสัญญาณอนาลอก (Analog Signal) อยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและถูกส่งผ่านสื่อนำสัญญาณไปยังจุดหมายที่ต้องการ เหมาะสำหรับการส่งสัญญาณเสียงสนทนา (Voice) ส่วนสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) มีลักษณะการแบ่งสัญญาณเป็นช่วงๆ อย่างไม่ต่อเนื่อง ออกเป็นสองระดับเพื่อแทนสถานะสองสถานะ คือ สถานะของบิต “0” กับสถานะของบิต “1” ซึ่งเปรียบได้กับการปิดเปิดสวิทซ์ไฟฟ้า (0 หมายถึง ปิด 1 หมายถึง เปิด) เครื่องมืออีเลกทรอนิกส์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันผลิตสัญญาณออกมาในรูปแบบสัญญาณดิจิตอลเกือบทั้งสิ้น แต่การส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมในปัจจุบัน ยังอยู่บนพื้นฐานของสายโทรศัพท์ธรรมดาซึ่งเป็นสัญญาณอนาลอกอยู่ ดังนั้นจึงต้องมีการแปลงสัญญาณผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม (MOdulation/DEMoldulation device ; MODEM) จึงจะสามารถสื่อสารข้อมูลในระยะไกลได้
ภาพที่ 2.5 : แสดงการทำงานของโมเด็มในการแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาลอกเป็นดิจิตอล
(Turban,Rainer,Potter Information Technology 2nd John Wiley & Sons, Inc.2003)
แต่ในขณะเดียวกันทุกวันนี้ในองค์กรต่างๆ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเครื่องมืออีเลกทรอนิกส์ในองค์กรได้ เช่น ระหว่างห้องทำงาน ระหว่างชั้น ระหว่างตึก การเดินสายสัญญาณ สามารถเลือกใช้สายที่นำสัญญาณดิจิตอลได้เลย ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยโมเด็มช่วยแปลงสัญญาณอีก เช่น การสื่อสารในระบบ LAN ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

รหัสแทนข้อมูล

รหัสแทนข้อมูล คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยหลักการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่แทนสัญญาณทางไฟฟ้าด้วยตัวเลขศูนย์ และหนึ่งซึ่งเป็นตัวเลขในระบบฐานสอง แต่ละหลักเรียกว่า บิต และเมื่อนำตัวเลขหลายๆบิตมา เรียงกัน จะใช้สร้างรหัสแทนความหมายจำนวน หรือตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ ทั้งภาษาไทยและ ภาษาอังกฤษได้ และเพื่อให้การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็น ไปในแนวเดียวกันจึงมีการกำหนดมาตรฐานรหัสตัวเลขในระบบเลขฐานสอง สำหรับแทน สัญลักษณ์เหล่านี้ รหัสมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากมีสองกลุ่ม คือ
1. รหัสแอสกี ( ASCII)
เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากในระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูล รหัสแทนข้อมูล ชนิดนี้ใช้เลขฐานสองจำนวน 8 บิต หรือเท่ากับ 1 ไบต์แทนอักขระหรือสัญลักษณ์แต่ละตัว ซึ่งหมายความว่าการแทนอักขระแต่ละตัวจะประกอบด้วยตัวเลขฐานสอง 8 บิตเรียงกัน ซึ่ง ลำดับของแต่ละบิตเป็นดังนี้











บิตที่
7
6
5
4
3
2
1
0













ตัวอย่างรหัสแทนข้อมูล เช่น





บิตที่
7
6
5
4
3
2
1
0
อักขระที่แทน


0
0
1
1
0
1
1
1
7


0
1
0
0
0
1
1
1
G


0
1
1
0
0
1
1
1
g















จากหลักการของระบบเลขฐานสอง แต่ละบิตสามารถแทนค่าได้ 2 แบบ คือ เลข 0 หรือเลข 1 ถ้าเราเขียนเลขฐานสองเรียงกัน 2 บิต ในการแทนอักขระ เราจะมีรูปแบบในการแทนอักขระ ได้ 22 หรือ 4 รูปแบบ คือ 00,01,10 และ 11 ดังนั้นในการใช้รหัสแอสกีซึ่งมี 8 บิตใน การแทนอักขระแล้ว เราจะมีรูปแบบที่ใช้แทนได้ถึง 28 หรือ 256 รูปแบบ ซึ่งเมื่อใช้แทน ตัวอักษรภาษาอังกฤษแล้วยังมีเหลืออยู่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. จึงได้กำหนดรหัสภาษาไทยเพิ่มลงไปเพื่อให้ใช้งานร่วมกัน ตารางแสดงรหัสแอสกี
2. รหัสเอบซีดิก (EBCDIC)
พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็ม รหัสแทนข้อมูลนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน การกำหนดรหัส จะใช้ 8 บิต ต่อหนึ่งอักขระ เหมือนกับรหัสแอสกี แต่แบบของรหัสที่กำหนดจะแตกต่างกัน โดยรหัสเอบซีดิกจะเรียงลำดับแต่ละบิตที่ใช้แทนอักขระดังนี้










บิตที่
0
1
2
3
4
5
6
7
รหัสแบบเอบซีดิก ก็สามารถใช้กำหนดให้กับอักษรภาษาไทย และเครื่องหมายอื่น ๆ ได้ เช่นเดียวกัน ตัวอย่างรหัสแทนข้อมูลแบบเอบซีดิก
บิตที่
0
1
2
3
4
5
6
7
อักขระที่แทน


1
1
1
1
0
1
1
1
7




1
1
0
0
0
1
1
1
G




1
0
0
0
0
1
1
1
g

3. รหัส UniCode
เป็นรหัสแบบใหม่ล่าสุด ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากรหัสขนาด 8 บิตซึ่งมีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่าง ๆ ในโลกได้ครบหมด โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาภาพ เช่น ภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นเพียงภาษาเดียวก็มีจำนวนรูปแบบเกินกว่า 256 ตัวแล้ว UniCode จะเป็นระบบรหัสที่เป็น 16 บิต จึงแทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัว ซึ่ง เพียงพอสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์กราฟฟิกโดยทั่วไป รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันระบบ UniCode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ Window NT ระบบปฏิบัติการ UNIX บางรุ่น รวมทั้งมีการสนับสนุนชนิดข้อมูลแบบ UniCode ในภาษา JAVA ด้วย

ความหมายของเครือข่าย

ความหมายของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ด้านการสื่อสารหรือสื่ออื่นใด ทำให้ผู้ใช้ในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ของเครือข่ายร่วมกันได้

การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาท และความสำคัญเพิ่มขึ้นเพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้นเพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง เครือข่ายมีตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่องเพื่อใช้งานในบ้าน หรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายระดับโลกที่ครอบคลุมไปเกือบทุกประเทศเครือข่ายสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมากทั่วโลกเข้าด้วยกัน เราเรียกว่า เครือข่ายอินเทอร์เน็ต


วัตถุประสงค์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

วัตถุประสงค์ของการใช้ระบบเครือข่าย
วัตถุประสงค์ของการเลือกใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็เพื่อ
1. สามารถใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้
ก็คือ เครื่องลูก(Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง
2. เพื่อความประหยัด
เพราะว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องไหนก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน
3. เพื่อความเชื่อถือได้ของระบบงาน
นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบ Computer Network มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที
4. ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง
เมื่อต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ในที่ที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น บริษัทแม่อยู่ที่ กรุงเทพ ส่วนบริษัทลูกอาจจะอยู่ตามต่างจังหวัด แต่ละที่ก็มีการเก็บข้อมูล การเงิน ประวัติลูกค้า และอื่นๆ แต่ถ้าต้องการใช้ข้อมูลของอีกที่หนึ่งจะเกิดความลำบาก ล่าช้า และไม่สะดวก จึงมีการนำหลักการของ Computer Network มาใช้งาน เช่น มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน หรือโปรแกรม ข้อมูล ร่วมกัน







องค์ประกอบของระบบเครือข่าย
จะต้องมี 3 ประการนี้จึงจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
1. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนระบบเครือข่าย
- เครื่องคอมพิวเตอร์ PC / Macintosh
- เครื่องคอมพิวเตอร์เวอร์คสเตชัน
2. Physical Media หรือสื่อเชื่อมต่อทางกายภาพอันได้แก่ สาย (Cable) และ Hub หรืออุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ
3. ระเบียบพิธีการติดต่อสื่อสาร (Protocol) ก็คือระเบียบหรือข้อตกลง (rules) ที่ตั้งขึ้น เพื่อทำให้ผู้ที่จะสื่อสารกันเข้าใจกันและกัน ตัวอย่างเช่นสัญญาณธงที่ทหารเรือใช้สื่อสารกัน เป็นต้น
การส่งผ่านข้อมูลแบบอนุกรม (Serial Transimission)
รูปแบบการส่งผ่านข้อมูลในลักษณะนี้ทุกบิตที่เข้ารหัสแทนข้อมูลหนึ่งตัวอักษรจะถูกส่งผ่านไปตามสายส่งเรียงลำดับกันไปทีละบิตในสายส่งเพียงเส้นเดียว ดังรูป
ต้นทาง

ปลายทาง
รูปที่ 5 การส่งข้อมูลแบบอนุกรม
จากรูปตัวอักษรจะประกอบด้วย 8 บิต เรียงเป็นลำดับ ข้อมูลจะถูกส่งออกมาทีละบิตระหว่างต้นทาง และปลายทาง และปลายทางจะรวบรวมบิตเหล่านี้ทีละบิตจนครบ 8 บิต เป็น 1 ตัวอักษร จะเห็นว่าการส่งข้อมูลแบบนี้จะช้ากว่าแบบขนาน แต่ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าแบบขนาน ซึ่งเหมาะสำหรับการส่งระยะทางไกลๆ โดยทั่วไปแล้วการส่งข้อมูลนั้นจะประกอบไปด้วยกลุ่มของตัวอักษร ดังนั้นในการส่งข้อมูลแบบอนุกรมนี้จึงเกิดปัญหาขึ้นว่า แล้วต้นทางและปลายทางจะทราบได้อย่างไรว่า จะแบ่งแต่ละตัวอักษรตรงบิตใด จึงเกิดวิธีการสื่อสารข้อมูลขึ้น 2 แบบคือ การสื่อสารแบบอะซิงโคนัส (Asynchronous Transmission) และการสื่อสารแบบซิงโคนัส (Synchronous Transmission
oijhiuhyuiji