วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การจัดการความปลอดภัยระบบเครือข่าย

ค ว า ม ป ล อ ด ภั ย ข อ ง เ ค รื อ ข่ า ย

ในโลกแห่งอุดมคติ ผู้ใช้เครือข่ายไม่ต้องกังวลว่าจะมีใครเข้ามาลักลอบใช้บัญชีโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือผู้ดูแลระบบไม่ต้องตรวจจับว่าเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการมีผู้เข้ามาก่อกวนระบบหรือทำลายข้อมูล และบริษัทที่ประกอบธุรกิจไม่ต้องติดตั้งระบบป้องกันภัย เพราะจะไม่มีผู้ลักลอบเข้ามานำข้อมูลทางการค้าที่สำคัญนำไปให้กับบริษัทคู่แข่ง แต่ทว่าในโลกแห่งความเป็นจริงอย่างเช่น อินเทอร์เน็ตนั้น
การบุกรุก ก่อกวน ลักลอบใช้ และทำลายระบบเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวันของสังคมเครือข่าย และหลายต่อหลายครั้งที่เป็นกรณีใหญ่ที่สร้างความเสียหายเข้าขั้นอาชญากรรมทางเครือข่าย ไม่มีใครทราบอย่างแน่ชัดว่ามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกเป็นจำนวนเท่าใด นอกจากจะคาดประมาณไว้ว่าน่าจะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ราว 100 ล้านคนใช้งานโฮลต์ที่ต่อเชื่อมอยู่ราว 10 ล้านเครื่องในเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันนับแสนเครือข่าย สังคมซึ่งเป็นที่รวมของผู้คนจำนวนมากเช่นอินเตอร์เน็ตนี้ย่อมมีผู้คนส่วนหนึ่งที่เป็นนักสร้างปัญหา และก่อกวนสร้างความเสียหายให้ระบบ นับตั้งแต่มือสมัครเล่นที่ทำเพื่อความสนุกไปจนกระทั่งถึงระดับอาชญากรมืออาชีพ
ปรัชญาความปลอดภัยในอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตมีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด? คำถามนี้ดูเหมือนจะตอบโดยรวมได้ยาก เนื่องจากขอบเขตของอินเทอร์เน็ตครอบคลุมเครือข่ายจำนวนมากมาย บางทีเครือข่ายอาจไม่มีระบบป้องกันใดๆ แครกเกอร์มือสมัครเล่นอาจเข้าไปสร้างความยุ่งยากได้ ระบบคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ในอินเทอร์เน็ตที่ทำหน้าที่เป็นตัวให้บริการข้อมูลมักทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ คำถามสำคัญต่อมาก็คือ UNIX เป็นระบบที่มีความปลอดภัยเพียงใดยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่แรกเริ่มออกแบบขึ้นเพื่อการสื่อสารและแลกเปลี่ยนทรัพยากรข้อมูลระหว่างเครื่องโดยไม่เน้นถึงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล จนกระทั่งเมื่อแพร่หลายออกไปสู่ภาคธุรกิจจึงได้ปรับปรุงให้มีกลไกด้านการรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่ายูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยน้อยกว่าระบบปฏิบัติการอื่นๆ เนื่องจากธรรมชาติของระบบปฏิบัติการแบบเปิดหรือกึ่งเปิดที่มีให้เลือกใช้อย่างแพร่หลายย่อมจะมีช่องทางให้ค้นหาจุดอ่อนด้านความปลอดภัยได้ง่าย หากจะขีดวงจำกัดอยู่เฉพาะในระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เพียงอย่างเดียวและแยกพิจารณาถึงยูนิกซ์เชิงการค้า เช่น โซลาริส เอไอเอ็กซ์ เอชพี-ยูเอ็กซ์ ไอริกซ์ หรืออัลทริกซ์ กับยูนิกซ์ที่เป็นสาธารณะ เช่น ลีนุกซ์ หรือฟรีบีเอสดี ก็ไม่สามารถสรุปได้ว่ายูนิกซ์เชิงการค้ามีความปลอดภัยสูงกว่ายูนิกซ์ที่เป็นสาธารณะ แต่เนื่องจากรูปแบบที่มีให้บริการอย่างหลากหลายเมื่อมองโดยภาพรวมแล้วจึงกล่าวได้ว่าความปลอดภัยในยูนิกซ์มีจุดอ่อนให้โจมตีได้มากการระมัดระวังรักษาความปลอดภัยในระบบเครือข่ายจึงไม่ใช่เพียงแต่พึ่งพาขีดความสามารถของระบบปฏิบัติการเท่านั้นแต่ยังต้องการ นโยบายรักษาความภัย (Security Policy) ซึ่งเป็นตัวกำหนดขอบเขตการใช้งานและมาตรการดำเนินการรักษาความปลอดภัยโดยรวมทั้งระบบ
รูปแบบการโจมตีทางเครือข่าย นอกเหนือไปจากการหาช่องโหว่หรือข้อบกพร่องของซอฟต์แวร์ที่ให้บริการในเซิร์ฟเวอร์และเจาะเข้าสู่ระบบโดยได้สิทธิผู้ใช้ระดับสูงสุดแล้วแครกเกอร์มักใช้วิธีโจมตีเพื่อสร้างปัญหากับระบบในรูปแบบต่างๆ ที่จัดออกได้เป็นกลุ่มดังนี้
การป้องกันและระวังภัย
ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์หลากหลายที่ใช้เป็นเครื่องมือรักษาความปลอดภัยในระบบ ตัวอย่างวอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เบื้องต้นได้กล่าวไปในหัวข้อที่แล้ว ส่วนซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งเป้นระบบรักษาความปลอดภัยที่กำลังเริ่มใช้อย่างแพร่หลายได้แก่ระบบไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ทำหน้าที่เสมือนกับกำแพงกันไฟไม่ให้ลุกลามขยายตัวหากมีไฟไหม้เกิดขึ้น ไฟร์วอลล์จะอาศัยคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเป็นด่านเข้าออกเครือข่ายและเป็นเสมือนกำแพงกันไฟ และมีซอฟต์แวร์ที่ผู้ดูแลระบบจะติดตั้ง และกำหนดรูปแบบการอนุญาตให้เข้าใช้เครือข่าย อินเทอร์เน็ตมีหน่วยงาน CERT (Computer Emergency Response Team) ทำหน้าที่เป็นเสมือน "ตำรวจอินเทอร์เน็ต" คอยดูแลความปลอดภัย ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก อย่างไรก็ตาม หน่วยงาน CERT ไม่ได้มีอำนาจในการจัดการหรือจับกุมแครกเกอร์ หากเพียงแต่คอยทำหน้าที่เตือนและช่วยเหลือ ตลอดจนแจ้งข่าวเมื่อพบปัญหาด้านความปลอดภัยในระบบเพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที CERT จะประกาศข่าวเตือนภายใต้หัวข้อข่าว Comp.securily.announce เป็นประจำ

ไม่ว่าระบบเครือข่ายจะมีฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ที่ดีเพียงใดในการปกป้องระบบเครือข่าย สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือผู้ใช้งานในระบบจะต้องคอยช่วยสอดส่องดุแลและป้องกันไม่ให้ตนเองเป็นช่องทางผ่านของแครกเกอร์ผู้ดูแลระบบจะต้องคอยติดตามและหาวิธีการป้องกันและแก้ไขจุดบกพร่องของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน พึงระลึกไว้ว่าไม่มีระบบเครือข่ายใดที่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์จากแครกเกอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น