วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สัญญาณ

ประเภทของสัญญาณ : อนาลอกและดิจิตอล
เราคงเคยได้ยินคำว่า “อนาลอกและดิจิตอล” กันมาบ้างแล้ว ข้อมูลต่างๆที่เดินทางผ่านช่องสัญญาณในระบบโทรคมนาคมมีอยู่สองแบบ คือ สัญญาณอนาลอกกับสัญญาณดิจิตอล ลักษณะของสัญญาณอนาลอก (Analog Signal) อยู่ในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและถูกส่งผ่านสื่อนำสัญญาณไปยังจุดหมายที่ต้องการ เหมาะสำหรับการส่งสัญญาณเสียงสนทนา (Voice) ส่วนสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal) มีลักษณะการแบ่งสัญญาณเป็นช่วงๆ อย่างไม่ต่อเนื่อง ออกเป็นสองระดับเพื่อแทนสถานะสองสถานะ คือ สถานะของบิต “0” กับสถานะของบิต “1” ซึ่งเปรียบได้กับการปิดเปิดสวิทซ์ไฟฟ้า (0 หมายถึง ปิด 1 หมายถึง เปิด) เครื่องมืออีเลกทรอนิกส์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันผลิตสัญญาณออกมาในรูปแบบสัญญาณดิจิตอลเกือบทั้งสิ้น แต่การส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมในปัจจุบัน ยังอยู่บนพื้นฐานของสายโทรศัพท์ธรรมดาซึ่งเป็นสัญญาณอนาลอกอยู่ ดังนั้นจึงต้องมีการแปลงสัญญาณผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า โมเด็ม (MOdulation/DEMoldulation device ; MODEM) จึงจะสามารถสื่อสารข้อมูลในระยะไกลได้
ภาพที่ 2.5 : แสดงการทำงานของโมเด็มในการแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาลอกเป็นดิจิตอล
(Turban,Rainer,Potter Information Technology 2nd John Wiley & Sons, Inc.2003)
แต่ในขณะเดียวกันทุกวันนี้ในองค์กรต่างๆ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเครื่องมืออีเลกทรอนิกส์ในองค์กรได้ เช่น ระหว่างห้องทำงาน ระหว่างชั้น ระหว่างตึก การเดินสายสัญญาณ สามารถเลือกใช้สายที่นำสัญญาณดิจิตอลได้เลย ก็ไม่จำเป็นต้องอาศัยโมเด็มช่วยแปลงสัญญาณอีก เช่น การสื่อสารในระบบ LAN ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น