วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รูปแบบการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูล
ย้อนกลับ
ถัดไป
6.3 ทิศทางการสื่อสารข้อมูล
แบ่งตามรูปลักษณะได้ 3 แบบ คือ 6.3.1 แบบซิมเพล็กซ์ (Simplex) ข้อมูลส่งได้ในทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่าการส่งทิศทางเดียว (Unidirectional data bus) 6.3.2 แบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์ (Half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้ง 2 สถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้
6.3.3 แบบฟลูดูเพล็กซ์ (Full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน
รูปที่ 6.3 รูปแบบทิศทางการสื่อสารข้อมูลในแต่ละแบบ
การส่งแบบฟูลดูเพล็กซ์และฮาล์ฟดูเพล็กซ์ ไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนของสายในการติดต่อ บางครั้งคำว่า ทูไวร์ (Two wire) หรือสองเส้น และโฟร์ไวร์ (Four wire) หรือสี่เส้น ใช้ในการบรรยายถึงลักษณะการสื่อสารข้อมูลซึ่งอาจจะทำให้เข้าใจการส่งแบบฮาล์ฟดูเพล็กซ์ สายโทรศัพท์ทั่วไปเป็นแบบสองเส้น ส่วนในสายที่เป็นแบบเช่า (Lease line) นั้นส่วนมากจะเป็นสี่เส้น
6.4 การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรมและแบบขนานสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลโดยผ่านสายสื่อสารทำได้ 2 วิธี คือ การสื่อสารแบบอนุกรม หรือแบบเรียงลำดับ(Serial) และการสื่อสารข้อมูลแบบขนาน(Parallel)
6.4.1 การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม ในการสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลถูกส่งออกมาทีละบิต ระหว่างจุดส่งและจุดรับ จะเห็นว่าการส่งข้อมูลแบบนี้ช้ากว่าแบบขนาน ตัวกลางการสื่อสารแบบอนุกรมต้องการเพียงช่องเดียวหรือสายเพียงคู่เดียว ค่าใช้จ่ายในสื่อกลางถูกกว่าแบบขนานสำหรับการส่งระยะทางไกล ๆ โดยเฉพาะเมื่อเรามีระบบการสื่อสารทางโทรศัพท์ไว้ใช้งานอยู่แล้วย่อมจะเป็นการประหยัดกว่าที่จะทำการติดต่อสื่อสารทีละ 8 ช่อง เพื่อการถ่ายโอนข้อมูลแบบขนานอย่างแน่นอน การส่งข้อมูลแบบอนุกรม ข้อมูลจากจุดส่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นอนุกรมเสียก่อนแล้วค่อยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ ณ ที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิต ให้เป็นสัญญาณแบบขนานที่ลงตัวพอดี นั่นคือ บิต 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้นที่ 1 พอดี การที่จะทำให้ การแปลงสัญญารจากอนุกรมทีละบิตให้ลงตัวพอดีนั้นจำเป็นจะต้องมีกลไกที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการรับ
6.4.2 การสื่อสารข้อมูลแบบขนาน การส่งข้อมูลแบบขนาน ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละไบต์ คือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่าง 2 เครื่องจะต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง โดยมากจะเป็นสายขนานให้กระแสไฟฟ้าวิ่งมากกว่าจะเป็นตัวกลางชนิดอื่น เนื่องจากมีสัญญาณ สูญหายไปกับความต้านทานของสาย ระยะทางระหว่าง 2 เครื่อง ไม่ควรจะเกิน 100 ฟุต ปัญหาที่ เกิดขึ้นหากระยะทางของสายมากกว่านี้ก็คือระดับของกราวนด์ในทางไฟฟ้าที่จุดรับผิดไปจากจุดส่ง ทำให้เกิดการผิดพลาดในการรับสัญญาณลอจิกทางฝ่ายรับ นอกจากสายที่เป็นทางเดินของข้อมูลแล้วอาจจะมีทางเดินของสัญญาณควบคุมอื่น ๆ อีกเป็นต้นว่า บิตที่บอกแพริตี้ของสัญญาณ เพื่อเป็นการตรวจสอบความผิดพลาดของการรับสัญญาณที่ปลายทาง หรือสายที่ควบคุมการโต้ตอบ(Hand-shake) จะเห็นว่าการส่งแบบขนานส่วนมากจะทำในระยะใกล้ๆ เนื่องจากจะต้องมีช่องทางเดินของสัญญาณมากกว่า 8 สาย และอุปกรณ์ที่ติดต่อแบบขนานกับคอมพิวเตอร์ก็เห็นจะได้แก่ เครื่องพิมพ์
รูปที่ 6.4 การสื่อสารข้อมูลแบบอนุกรม รูปที่ 6.5 การสื่อสารข้อมูลแบบขนาน
6.5 ระบบเครือข่ายเบสแบนด์และบรอดแบนด์
6.5.1 ระบบเครือข่ายแบบเบสแบนด์ ระบบ LAN ที่ใช้เทคนิคเบสแบนด์ จะใช้สัญญาณที่รับส่งเป็นสัญญาณดิจิตอล ล้วนแต่ในความหมายของเบสแบนด์นั้นคือ การส่งสัญญาณข้อมูลเดิมแท้จริงโดยไม่มีการมอดูเลต สัญญาณที่ไม่มีการมอดูเลตก็คือสัญญาณข้อมูลดิจิตอลที่ส่งนั้นเอง รูปแบบของสัญญาณดิจิตอล คือการกำหนดให้แรงดันที่ป้อนออกม่เป็นสัญญาณแรงดันสองระดับในรูปแบบพัลส์และเมื่อมีสัญญาณที่ส่งเป็นสัญญาณดิจิตอล ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความถี่กว้างมาก ดังนั้นจึงไม่สามารถนำเอาหลักการของการแบ่งช่วงความถี่มาใช้ได้ (FDM) การส่งสัญญาณจึงเป็นไปในลักษณะสองทิศทางคือ ตลอดเส้นทางจะมีแรงดันเดียวกันตามที่ส่ง สืบเนื่องจากสัญญาณมีแถบความถี่กว้างมาก และเป็นสัญญาณพัลส์ดังนั้นการส่งสัญญาณๆไปในสายจึงมีปัญหามาก การส่งสัญญาณจึงยากที่จะกระจายไปตามกิ่งก้านของโทโปโลยีแบบทรี ทั้งนี้เพราะจะต้องผ่านอุปกรณ์สปลิตเตอร์หรือรีพีตเตอร์บางอย่าง ดังนั้นเบสแบนด์จึงเหมาะกับแบบบัส
6.5.2 ระบบเครือข่ายแบบบรอดแบนด์ บอร์ดแบนด์มีความหมายถึงการสื่อสารในช่วงความถี่ที่ใช้แถบกว้างเกินกว่า 4 กิโลเฮิร์ตซ์ แต่สำหรับระบบบอร์ดแบนด์ที่ใช้กับ LAN เราจะใช้กับการรับส่งข้อมูลที่ใช้หลักการของการมอดูเลต แล้วใช้การมัลติเพล็กซ์หลายความถี่เข้าด้วยกัน ในหลักการที่เรียกว่า FDM (Frequency devision multi-plex) ระบบที่ใช้การสื่อสารข้อมูลอะนาล็อก 1 ช่องจึงหมายถึงการใช้บอร์ดแบนด์หนึ่งช่อง ในสายสัญญาณแต่ละเส้นนั้นจะส่งสัญญาณเข้าไปได้ในช่วงความถี่ออกเป็นหลายช่องแล้วส่งเข้าไปในระบบในรูแบบมัลติเพล็กซ์ทำให้เราส่งได้หลายช่อง ดังนั้นจึงสามารถใช้ได้ทั้ง โทโปโลยีแบบบัสหรือแบบทรี แต่เนื่องจากเป็นสัญญาณอะนาลอกจึงต้องมีวงจรขยายสัญญาณหรือแอมพลิฟลายเออร์ จึงส่งได้ในทิศทางเดียวการส่งได้อาจส่งได้หลายสิบกิโลเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการขยายสัญญาณและคุณสมบัติของสาย ระบบเครือข่ายแบบบอร์ดแบนด์ จะตรงข้ามกับ เบสแบนด์ นั่นคือ จะเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ตัวกลางในการส่งผ่านสัญญาณ สามารถมีหลายช่องสัญญาณได้พร้อมๆ กัน โดยใช้วิธี แบ่งช่องความถื่ออกจากกัน ทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สามารถสื่อสารกันได้โดยช่องความถี่ของตนเองผ่านตัวกลางเดียว ตัวอย่างเช่น ระบบเครือข่าย Cable TV ซึ่งสามารถส่งสัญญาณมาพร้อมกันหลาย ๆ ช่องบนสายการสื่อสารเส้นเดียว และผู้รับก็สามารถเลือกช่องความถี่ที่ต้องการชมได้ เป็นต้น
ย้อนกลับ
ถัดไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น